images
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

รายละเอียดหลักสูตร

ปรัชญา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิต ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์อย่างลึกซึ้งเพื่อให้สามารถสร้างองค์ความรู้ที่มีมาตรฐานสากล และนำเอาองค์ความรู้เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติและสังคมส่วนรวม ขณะเดียวกันให้มีขีดความสามารถในการพัฒนาองค์ความรู้นั้นไปสู่การเสริมสร้างทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ใหม่ๆ ต่อไป และเป็นผู้ที่มีความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในอุดมการณ์วิชาชีพ ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ดีของการชี้นำสังคมต่อไป

วัตถุประสงค์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) ผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณสมบัติในการตอบสนองความต้องการของประเทศ ดังวัตถุประสงค์ต่อไปนี้

1) มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม สามารถปรับวิถีชีวิตภายใต้ความขัดแย้งทางค่านิยมรวมทั้งมีการพัฒนานิสัยและการปฎิบัติตนตามศีลธรรม

2) มีความรู้อย่างลึกซึ้งทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพทางรัฐประศาสนศาสตร์มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้รวมทั้งสร้างนวัตกรรมบนพื้นฐานของแนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้

3) สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และประยุกต์ใช้ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนนำทักษะทางการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่มีความเป็นพลวัตและมีความสลับซับซ้อนได้อันนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมทางรัฐประศาสนศาสตร์

4) มีภาวะผู้นำทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ สามารถแสดงความเห็นเชิงวิพากษ์บนฐานแนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์

5) มีประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมถึงมีความรู้ความสามารถใช้เครื่องมือในทางสถิติขั้นพื้นฐานในการแก้ปัญหาทางการวิจัยขั้นสูงได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถใช้เครื่องมือทางสถิติมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ปรากฎการณ์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้


สายงานที่เกี่ยวข้อง

1) ผู้สอนในสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน

2) นักวิจัย

3) เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารแผนกทรัพยากรมนุษย์

4) นักการทูต

5) นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน

6) ข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร พนักงานส่วนท้องถิ่น และพนักงานรัฐวิสาหกิจ

7) ผู้บริหารและพนักงานเอกชน

โครงสร้างหลักสูตร

# วิชาเอก สาขาวิชา รายละเอียด
1 ไม่มีวิชาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ ดูไฟล์เอกสาร

รายวิชาที่เปิดสอน

ลำดับที่ รหัสรายวิชา ชื่อวิชาไทย ชื่อวิชาอังกฤษ ปีที่ปรับปรุง
1 HS471901 ปรัชญาทางสังคมศาสตร์ PHILOSOPHY OF SOCIAL SCIENCE 2561
2 HS471902 ขอบเขตและวิธีการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ SCOPE AND METHODS IN PUBLIC ADMINISTRATION 2561
3 HS471903 ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูงเชิงปริมาณทางรัฐประศาสนศาสตร์ ADVANCED QUANTITATIVE RESEARCH METHODOLOGY IN PUBLIC ADMINISTRATIONADMINISTRATION 2561
4 HS471904 ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูงเชิงคุณภาพทางรัฐประศาสนศาสตร์ ADVANCED QUALITATIVE RESEARCH METHODOLOGY IN PUBLIC ADMINISTRATION 2561
5 HS471996 ดุษฎีนิพนธ์ DISSERTATION 2561
6 HS471905 การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะขั้นสูง ADVANCED PUBLIC POLICY ANALYSIS 2561
7 HS471992 สัมมนาทางการบริหารงานท้องถิ่น SEMINAR IN LOCAL ADMINISTRATION 2561
8 HS471993 สัมมนาทางการจัดการการเงินการคลังสาธารณะ SEMINAR IN PUBLIC FINANCIAL AND FISCAL ADMINISTRATION 2561
9 HS471998 ดุษฎีนิพนธ์ DISSERTATION 2561
10 HS471991 สัมมนาทางการจัดการองค์การและทุนมนุษย์ SEMINAR IN ORGANIZATION MANAGEMENT AND HUMAN CAPITAL 2561
11 HS471994 สัมมนาทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม SEMINAR IN NATURAL RESOURCES AND ENVIRONMENTAL MANAGEMENT

แผนการศึกษา

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)

หัวข้อ รายละเอียด ไฟล์
1 มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม สามารถปรับวิถีชีวิตภายใต้ความขัดแย้งทางค่านิยมรวมทั้งมีการพัฒนานิสัยและการปฎิบัติตนตามศีลธรรม
2 มีความรู้อย่างลึกซึ้งทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพทางรัฐประศาสนศาสตร์มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ รวมทั้งสร้างนวัตกรรมบนพื้นฐานของแนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้
3 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และประยุกต์ใช้ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่มีความซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนนำทักษะทางการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่มีความเป็นพลวัตและมีความสลับซับซ้อนได้อันนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมทางรัฐประศาสนศาสตร์
4 มีภาวะผู้นำทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ สามารถแสดงความเห็นเชิงวิพากษ์บนฐานแนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์
5 มีประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมถึงมีความรู้ความสามารถใช้เครื่องมือในทางสถิติขั้นพื้นฐานในการแก้ปัญหาทางการวิจัยขั้นสูงได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถใช้เครื่องมือทางสถิติมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ปรากฎการณ์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้