images
ชื่อหลักสูตร
สารสนเทศศาสตรบัณฑิต

รายละเอียดหลักสูตร

ปรัชญา

หลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นนักวิชาชีพที่มี
สมรรถนะสูงด้านการวิเคราะห์และจัดการข้อมูลสารสนเทศและเป็นบัณฑิตพันธุ์ใหม่ที่มีความพร้อมและ สอดคล้องกับความต้องการตลาดงานในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัล

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) มีวัตถุประสงค์ทั่วไปในการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ที่สามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมและสถานประกอบการ ตามนโยบายปฏิรูปอุดมศึกษาไทย เป็นนักวิชาชีพที่มีคุณสมบัติดังนี้

1) มีความรู้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และจัดการข้อมูลสนเทศในองค์การ สามารถบูรณาการความรู้และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
2) มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในโลกสมัยใหม่
3) มีคุณลักษณะส่วนบุคคลในการปรับตัวและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีความตระหนักรู้และปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและ วิชาชีพ


สายงานที่เกี่ยวข้อง

1) นักสารสนเทศศาสตร์ (Information Profession), นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Officer), นักจัดการเอกสาร/นักจดหมายเหตุ (Records Manager/Archivist), นักจัดการความรู้ (Knowledge Manager), นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst), นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst),นักบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Account Executive)
2) อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรู้ความสามารถด้านการจัดการสารสนเทศในภาคธุรกิจ/เอกชน หรือภาครัฐ และอาชีพอิสระ (Freelance) ตลอดจนอาชีพใหม่ในยุคอุตสาหกรรม 4.0

โครงสร้างหลักสูตร

# วิชาเอก สาขาวิชา รายละเอียด
1 ไม่มีวิชาเอก สารสนเทศศาสตร์ ดูไฟล์เอกสาร

รายวิชาที่เปิดสอน

ลำดับที่ รหัสรายวิชา ชื่อวิชาไทย ชื่อวิชาอังกฤษ ปีที่ปรับปรุง
1 HS420001 ความตระหนักรู้ข้ามวัฒนธรรม CROSS-CULTURAL LITERACY 2560
2 HS430001 การเรียนรู้โดยการใช้ชุมชนเป็นฐาน COMMUNITY-BASED LEARNING 2560
3 HS311001 ภาษาจีน 1 CHINESE I 2560
4 HS321001 ภาษาญี่ปุ่นขั้นต้น 1 BASIC JAPANESE I 2560
5 HS331001 ภาษาเกาหลี 1 KOREAN I 2561
6 HS921101 ภาษาลาว 1 LAOTIAN I 2557
7 HS931101 ภาษาพม่า 1 BURMESE I 2557
8 HS941101 ภาษาเวียดนาม 1 VIETNAMESE I 2557
9 HS951101 ภาษาบาฮาซา อินโดนีเซีย 1 BAHASA INDONESIA I 2557
10 HS311002 ภาษาจีน 2 CHINESE II 2560
11 HS321002 ภาษาญี่ปุ่นขั้นต้น 2 BASIC JAPANESE II 2560
12 HS331002 ภาษาเกาหลี 2 KOREAN II 2561
13 HS921102 ภาษาลาว 2 LAOTIAN II 2557
14 HS931102 ภาษาพม่า 2 BURMESE II 2557
15 HS941102 ภาษาเวียดนาม 2 VIETNAMESE II 2557
16 HS951102 ภาษาบาฮาซา อินโดนีเซีย 2 BAHASA INDONESIA II 2557
17 HS212103 การจัดหาสารสนเทศและความรู้ INFORMATION AND KNOWLEDGE ACQUISITION 2562
18 HS212104 การจัดสารสนเทศและความรู้ INFORMATION & KNOWLEDGE ORGANIZATION
19 HS212105 การวิเคราะห์ข้อมูล DATA ANALYTICS 2562
20 HS212106 การบริการแบบดิจิทัล DIGITAL SERVICES (DS) 2562
21 HS213204 การสร้างสรรค์เนื้อหาสาระดิจิทัล DIGITAL CONTENT CREATION: DC 2562
22 HS213205 การจัดการเอกสาร RECORDS MANAGEMENT 2562
23 HS213207 การจัดการสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม CULTURAL HERITAGE INFORMATION MANAGEMEN
24 HS213208 การจัดการสารสนเทศกฎหมายและการพาณิชย์ LEGAL AND BUSINESS INFORMATION MANAGEMENT 2562
25 HS213203 การกำกับดูแลสารสนเทศ INFORMATION GOVERNANCE
26 HS213206 การจัดการความรู้ KNOWLEDGE MANAGEMENT
27 HS214796 การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน WORK INTEGRATED LEARNING

แผนการศึกษา

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)

หัวข้อ รายละเอียด ไฟล์
PLO 1 มีสมรรถนะด้านการจัดหาสารสนเทศและความรู้ (Information & Knowledge Acquisition: IKA)
PLO 2 มีสมรรถนะด้านการจัดสารสนเทศและความรู้ (Information & Knowledge Organization: IKO)
PLO 3 มีสมรรถนะด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics: DA)
PLO 4 มีสมรรถนะด้านการบริการแบบดิจิทัล (Digital Services: DS)