ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) มุ่งผลิต
มหาบัณฑิตที่มีสมรรถนะขั้นสูงด้านการจัดการสารสนเทศและความรู้ในระบบนิเวศดิจิทัล (Digital Ecosystem) โดยจัดให้มีชุดวิชาที่บูรณาการความรู้และทักษะสมัยใหม่ที่เป็น
ที่ต้องการและจำเป็นต่อการทำงานด้านสารสนเทศ ครอบคลุมมิติด้านเนื้อหา ระบบ เทคโนโลยี กฎหมาย จริยธรรม การเผยแพร่ และการนำไปใช้ประโยชน์ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปอันเกิดจากเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก (Disruptive Technology) และภาวะปกติใหม่ (New normal)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
1) มีความรู้ความสามารถในการจัดการสารสนเทศและความรู้ขั้นสูงในระบบนิเวศดิจิทัล
2) มีความสามารถในการสร้างและประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการสารสนเทศและความรู้ เพื่อการปรับเปลี่ยนและพัฒนา
3) มีทักษะการสื่อสาร การคิดวิเคราะห์และวิจัยเพื่อการแก้ปัญหา หรือการสร้างสรรค์ผลงานด้านการจัดการสารสนเทศและความรู้ในระบบนิเวศดิจิทัล
4) มีจิตสำนึกทางจริยธรรมและนิติธรรม และเชาวน์ปัญญาดิจิทัล (Digital Intelligence: DQ)สามารถปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
Objectives of the program are that graduates:
1) Have knowledge and ability to manage information and advanced knowledge in the digital ecosystem
2) Can create and apply digital technology to manage information and knowledge for modification and development
3) Have communication skills, analytical thinking and research skills for problem-solving or the skills to create management works and knowledge in the digital ecosystem; and
4) Having a conscience of ethics and the rules of law, including digital intelligence (DQ), can constantly adapt to changes.
1) อาชีพด้านการจัดการสารสนเทศและองค์การ (Information snd Organizational Management) ได้แก่ นักจัดการความรู้, นักบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า, บรรณารักษ์, นักสารสนเทศ, นักจัดการเอกสาร,นักจดหมายเหตุ (Records Manager/Archivist), นักวิจัยสารสนเทศในหน่วยงานต่างๆ เช่น ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูล สถาบันวิจัย เป็นต้น
2) อาชีพด้านการพัฒนาระบบและสื่อสารสนเทศ (Information System and Media Development) ได้แก่ นักวิเคราะห์ข้อมูล, นักวิเคราะห์ระบบ, นักพัฒนาระบบ, นักออกแบบและพัฒนาดิจิทัลคอลเล็คชัน, นักออกแบบและพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ, นักออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศในสถาบันสารสนเทศ
3) อาชีพด้านการจัดการเนื้อหาและสื่อดิจิทัล (Digital Content Management) ได้แก่ นักการตลาดออนไลน์, นักการตลาดเนื้อหา, นักพัฒนาเนื้อหาดิจิทัล (Digital Content Creator), ผู้เชี่ยวชาญการผลิตเนื้อหาบนเว็บ (Content Specialist), นักประชาสัมพันธ์ออนไลน์, ผู้จัดการสารสนเทศบนเว็บ (Web Content Manager), นักสื่อสารสารสนเทศ
4) อาชีพทางด้านการออกแบบและพัฒนาบริการหรือนวัตกรรมใหม่ (Service design Management) ได้แก่นักออกแบบบริการ (Service designer), ผู้ประกอบการใหม่ (Entreprenueurs)
5) อาชีพด้านการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล (Data Analytics & Visualization) ได้แก่ นักออกแบบ UX, UI, นักออกแบบประสบการณ์ลูกค้า, นักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ (Web Designer), นักนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ (Data Visualizer)