ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) เป็นหลักสูตรสหสาขาวิชา (Multidisciplinary) ที่สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ในสาขาวิชาชีพสารสนเทศ (Information Profession) ที่มีสมรรถนะสูงทางด้านสารสนเทศศึกษา โดยเป็นผู้มีวิทยา คือมีความรู้และทักษะการวิจัยระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสารสนเทศและความรู้ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ
เป็นผู้มีจริยา คือ ความประพฤติดี มีคุณธรรม จริยธรรมในการวิจัยและวิชาชีพ
และเป็นผู้มีปัญญา คือความฉลาดในการเชื่อมโยงสารสนเทศ ผู้ใช้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อสร้างการได้เปรียบในการแข่งขัน การแก้ปัญหา พัฒนาสังคมและประเทศชาติในภาพรวม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิต ดุษฎีบัณฑิตที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในวิชาการและวิชาชีพสารสนเทศ ที่มีคุณสมบัติดังนี้
1) มีวิทยา คือมีความรู้ความสามารถอย่างลุ่มลึก เป็นผู้นำในการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ในศาสตร์ ทางด้านสารสนเทศแบบองค์รวมภายใต้สภาพนิเวศดิจิทัล โดยบูรณาการสารสนเทศ ผู้ใช้ และเทคโนโลยีสารสนเทศมา ประยุกต์ใช้กับทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา
2) มีปัญญา มีทักษะการวิจัยขั้นสูงเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในสาขาวิชาสารสนเทศศึกษาที่บูรณาการสารสนเทศ ผู้ใช้และเทคโนโลยีสารสนเทศในการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ เป็นผู้นำและมีอิทธิพลทางสังคม ถ่ายทอดความรู้และ เทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรมหรือความรู้ใหม่ การได้เปรียบในการแข่งขัน หรือเกิดผลกระทบต่อการ เปลี่ยนแปลงหรือแก้ปัญหาในสภาพนิเวศดิจิทัล เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและหรือระดับนานาชาติ
3) มีจริยา เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมในการวิจัย ธรรมาภิบาล และเชาวน์ปัญญาดิจิทัล (Digital Intelligence) ปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีพลิกผัน และมีจิตสำนึกในการส่งเสริมและผลักดันสังคมให้มีการสร้างและ บูรณาการสารสนเทศ ผู้ใช้ และเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม นำไปสู่การพัฒนาสังคมและประเทศชาติในภาพรวม
Objectives of the program are that graduates:
1) Having profound knowledge and leadership in creating and disseminating new knowledge in holistic information science under the digital environment by integrating information, users, and information technology to apply to the relevant theories and concepts in the field of Information Science.
2) Having intellectual and advanced research skills to create new knowledge in Information Science that integrate information users and technology to produce quality research results. In addition, the graduates should have leadership skills and social influence to pass on knowledge and technology to friends, leading to innovation or new knowledge competitive advantage, affecting changes, or solving problems in the digital ecosystem, including being recognized nationally and/or internationally; and
3) Having morals and ethics in research, good governance, and digital intelligence, the ability to adapt to technological changes, and having a consciousness to promote and drive society to create and integrate information, users, and information technology appropriately, leading to the development of society and the nation in the overview.