images
ชื่อหลักสูตร
ศิลปศาสตรบัณฑิต

รายละเอียดหลักสูตร
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางวิชาการ สามารถทำงานด้านการวิจัย การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีทักษะในการศึกษาสังคมอย่างเป็นองค์รวม การจัดการข้อมูลในยุคดิจิทัล สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในสาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในการทำงานร่วมกับศาสตร์แขนงอื่นได้อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม มีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานสามารถปรับตัวภายใต้สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และอยู่ในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายได้อย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคม และตลาดงานในระดับอาเซียน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

1) มีความรู้และสามารถแสวงหาความรู้ การทำงานด้านการวิจัย และปฏิบัติงานในสาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมและริเริ่มสร้างสรรค์
โดยประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์ในสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในการวิจัย
และการทำงานอย่างเป็นระบบ
3) มีทักษะความสามารถด้านการสื่อสาร การวิเคราะห์ข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการในภาวะสมัยใหม่
4) มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ และมีทักษะความพร้อมด้านสังคม ที่จำเป็นต่อการทำงานและการใช้ชีวิตในอนาคต รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
และส่วนรวม
5) มีมนุษยสัมพันธ์ดี สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ และอยู่ในสังคมที่มี
ความแตกต่างหลากหลายได้


สายงานที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาเป็นผู้มีทักษะความรู้ ความสามารถในการทำงานในหลากหลายภาคส่วน ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ โดยเน้นการทำงานเพื่อสังคมที่ใช้หลากหลายทักษะทางด้านสังคมศาสตร์ อาทิ

1) งานด้านวิชาการ การสอน อาจารย์ ครูผู้ช่วย 
2) นักวิจัย นักวิชาการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักทรัพยากรมนุษย์ นักพัฒนาชุมชน นักพัฒนาสังคม นักวิชาการแรงงาน นักพัฒนาเอกชน 
3) ผู้นำการเปลี่ยนแปลงภาคประชาสังคม การผลิตสื่อในรูปแบบต่าง ๆ หรือสารคดี ผู้สื่อข่าว เป็นต้น

โครงสร้างหลักสูตร

# วิชาเอก สาขาวิชา รายละเอียด
1 ไม่มีวิชาเอก สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ดูไฟล์เอกสาร

รายวิชาที่เปิดสอน

ลำดับที่ รหัสรายวิชา ชื่อวิชาไทย ชื่อวิชาอังกฤษ ปีที่ปรับปรุง
1 HS421001 สังคมวิทยาขั้นแนะนำ INTRODUCTION TO SOCIOLOGY 2565
2 HS421002 มานุษยวิทยาวัฒนธรรมขั้นแนะนำ INTRODUCTION TO CULTURAL ANTHROPOLOGY 2565
3 HS421003 ประเด็นปัจจุบันทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา CURRENT ISSUES IN SOCIOLOGY AND ANTHROPOLOGY 2565
4 HS421004 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม SOCIAL AND CULTURAL CHANGE 2565
5 HS422005 แนวคิดและทฤษฎีทางสังคมวิทยา SOCIOLOGICAL CONCEPTS AND THEORIES 2565
6 HS422006 แนวคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยา ANTHROPOLOGICAL CONCEPTS AND THEORIES 2565
7 HS422007 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาขั้นแนะนำ INTRODUCTION TO RESEARCH METHODOLOGY IN SOCIOLOGY AND ANTHROPOLOGY 2565
8 HS422101 สังคมวิทยาการพัฒนา DEVELOPMENT SOCIOLOGY 2565
9 HS422108 ประชากรและสังคม POPULATION AND SOCIETY 2565
10 HS422201 วัฒนธรรมศึกษาขั้นแนะนำ INTRODUCTION TO CULTURAL STUDIES 2565
11 HS422401 โลกาภิวัตน์กับสังคมโลก GLOBALIZATION AND WORLD SOCIETY 2565
12 HS422402 การสื่อสาร สื่อและสังคมดิจิทัล COMMUNICATION, MEDIA AND DIGITAL SOCIETY 2565
13 HS422407 สังคมวิทยาการท่องเที่ยว SOCIOLOGY OF TOURISM 2565
14 HS422411 สังคมวิทยาการบริโภค SOCIOLOGY OF CONSUMPTION 2565
15 HS423008 การศึกษาทางสังคมและวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์ CRITICAL APPROACHES IN SOCIAL AND CULTURAL STUDIES 2565
16 HS423102 สังคมวิทยาเมือง URBAN SOCIOLOGY 2565
17 HS423104 สังคมวิทยาการเมือง POLITICAL SOCIOLOGY 2565
18 HS423105 สังคมวิทยาองค์การ SOCIOLOGY OF ORGANIZATION 2565
19 HS423106 จิตวิทยาสังคม SOCIAL PSYCHOLOGY 2565
20 HS423107 องค์การระหว่างประเทศกับการพัฒนา INTERNATIONAL ORGANIZATION AND DEVELOPMENT 2565
21 HS423202 กลุ่มชาติพันธุ์ในการเปลี่ยนแปลง ETHNIC GROUPS IN TRANSITION 2565
22 HS423203 มานุษยวิทยาประยุกต์ APPLIED ANTHROPOLOGY 2565
23 HS423204 มานุษยวิทยาสื่อ ANTHROPOLOGY OF MEDIA 2565
24 HS423205 มานุษยวิทยาเรือนร่าง ANTHROPOLOGY OF THE BODY 2565
25 HS423206 วัฒนธรรมประชานิยม POPULAR CULTURE 2565
26 HS423207 ลุ่มน้ำโขงศึกษา MEKONG STUDIES 2565
27 HS423301 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ QUALITATIVE RESEARCH METHODOLOGY 2565
28 HS423302 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ QUANTITATIVE RESEARCH METHODOLOGY 2565
29 HS423303 เทคนิคการจัดการข้อมูลวิจัย RESEARCH DATA MANAGEMENT TECHNIQUE 2565
30 HS423304 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ HUMAN RESOURCE DEVELOPMENT 2565
31 HS423307 สถิติพื้นฐานสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ BASIC STATISTICS FOR SOCIAL SCIENCES RESEARCH 2565
32 HS423309 การสำรวจมติมหาชน PUBLIC OPINION SURVEY 2565
33 HS423310 การวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคทางสังคมวิทยา CONSUMER BEHAVIOR RESEARCH FOR SOCIOLOGY 2565
34 HS423311 การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม PARTICIPATORY ACTION RESEARCH 2565
35 HS423312 การประเมินผลกระทบทางสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ SOCIAL, ENVIRONMENTAL AND HEALTH IMPACT ASSESSMENT STUDIES 2565
36 HS423403 เพศภาวะศึกษา GENDER STUDIES 2565
37 HS423405 สังคมวิทยาว่าด้วยเพศวิถี SOCIOLOGY OF SEXUALITY 2565
38 HS423408 สังคมวิทยาว่าด้วยอาชีพและงาน SOCIOLOGY OF OCCUPATIONS AND WORKS 2565
39 HS423409 สังคมวิทยาความตาย SOCIOLOGY OF DEATH 2565
40 HS423410 สังคมวิทยาความเสี่ยง SOCIOLOGY OF RISK 2565
41 HS424103 สังคมวิทยาเศรษฐกิจ ECONOMIC SOCIOLOGY 2565
42 HS424305 การวางแผนและการฝึกอบรมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ PLANNING AND TRAINING OF HUMAN RESOURCES DEVELOPMENT 2565
43 HS424306 หลักการวิเคราะห์ชุมชน PRINCIPLES OF COMMUNITY ANALYSIS 2565
44 HS424308 การวิจัยเชิงประเมินผล EVALUATION RESEARCH 2565
45 HS424404 ชายแดนศึกษา BORDER STUDIES 2565
46 HS424406 ขบวนการสังคมและประชาสังคม SOCIAL MOVEMENT AND CIVIL SOCIETY 2565
47 HS424785 สหกิจศึกษาทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา CO-OPERATIVE EDUCATION IN SOCIOLOGY AND ANTHROPOLOGY
48 HS821117 ปรัชญากับวิถีชีวิต PHILOSOPHY AND WAY OF LIFE 2562
49 GE153158 วิถีชีวิตชุมชนและการเรียนรู้ชุมชน COMMUNITY WAYS OF LIFE AND COMMUNITY LEARNING
50 GE161892 ศิลป์คิดสร้างสรรค์ ART AND CREATIVE APPRENTICES
51 GE341511 การคิดเชิงคำนวณและเชิงสถิติสำหรับเอบีซีดี COMPUTATIONAL & STATISTICAL THINKING FOR ABCD
52 GE341512 เอบีซีดีสำหรับทุกวิชาชีพ ABCD FOR ALL PROFESSIONS
53 HS311001 ภาษาจีนขั้นต้น 1 ELEMENTARY CHINESE I 2565
54 HS321001 ภาษาญี่ปุ่นขั้นต้น 1 BASIC JAPANESE I 2560
55 HS331001 ภาษาเกาหลี 1 KOREAN I 2564
56 HS911101 ภาษาเขมร 1 KHMER I
57 HS921101 ภาษาลาว 1 LAOTIAN I 2557
58 HS931101 ภาษาพม่า 1 BURMESE I 2557
59 HS941101 ภาษาเวียดนาม 1 VIETNAMESE I 2557
60 HS951101 ภาษาบาฮาซา อินโดนีเซีย 1 BAHASA INDONESIA I 2557
61 LI101001 ภาษาอังกฤษ 1 ENGLISH I
62 LI101002 ภาษาอังกฤษ 2 ENGLISH II
63 LI102003 ภาษาอังกฤษ 3 ENGLISH III
64 LI102004 ภาษาอังกฤษ 4 ENGLISH IV

แผนการศึกษา

ปีที่ รายละเอียด ไฟล์
1 แผนการศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษวิทยา ดูไฟล์เอกสาร
2 แผนการศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษวิทยา ดูไฟล์เอกสาร
3 แผนการศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษวิทยา ดูไฟล์เอกสาร
4 แผนการศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษวิทยา ดูไฟล์เอกสาร

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)

หัวข้อ รายละเอียด ไฟล์
PLO 1 แสดงออกถึงคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และเคารพในความแตกต่าง หลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม ดูไฟล์เอกสาร
PLO 2 สามารถอธิบายความรู้และใช้ทักษะด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และสามารถวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคมได้อย่างเป็นองค์รวม ดูไฟล์เอกสาร
PLO 3 สามารถใช้ทักษะการสื่อสารทางสังคมวัฒนธรรม ดูไฟล์เอกสาร
PLO 4 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ วิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัย และออกแบบงานวิจัยทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ดูไฟล์เอกสาร
PLO 5 สามารถใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์ และความคิดเชิงวิพากษ์ทางสังคมศาสตร์เพื่อสร้างความรู้ทางการวิจัยใหม่ ๆ และบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ ได้ ดูไฟล์เอกสาร