
- ชื่อหลักสูตร
- ศิลปศาสตรบัณฑิต
- รายละเอียดหลักสูตร
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566) มุ่งผลิตบัณฑิต เพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ และความสามารถในการเป็นนักวิจัยและพัฒนา นักขับเคลื่อนวิสาหกิจเพื่อสังคม และนักคิดเชิงออกแบบภาคประชาสังคม ที่มีความพร้อม เป็นที่ต้องการของสังคม และตลาดแรงงานของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
วัตถุประสงค์ทั่วไป
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566) มีวัตถุประสงค์ทั่วไป คือ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่สามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย ตอบโจทย์ตลาดแรงงานและสถานประกอบการ ในภาคส่วนต่าง ๆ ตามนโยบายปฏิรูปอุดมศึกษาไทย โดยเป็นบัณฑิตพัฒนาสังคมที่พึงประสงค์ และมีคุณสมบัติ ดังนี้1) มีความรู้ สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างสร้างสรรค์และเป็นระบบ และสามารถปฏิบัติงานในด้านพัฒนาสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมและริเริ่มสร้างสรรค์ โดยประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาพัฒนาสังคมในการแก้ปัญหาการทำงานได้อย่างเป็นระบบ
3) มีทักษะความสามารถด้านการสื่อสาร การวิเคราะห์วิจัย การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการในภาวะสมัยใหม่
4) มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม
5) มีจิตใจในการให้บริการที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ และอยู่ในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายได้โดยให้ความเคารพซึ่งกันและกันวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
หลักสูตรมีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตเพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งประกอบด้วย1) นักวิจัยและพัฒนา เป็นผู้ที่สามารถศึกษา วิจัย วิเคราะห์ ทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสังคมได้
2) นักขับเคลื่อนวิสาหกิจเพื่อสังคม เป็นผู้ขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับองค์กรธุรกิจเอกชน ให้มีความรับผิดชอบทางสังคม โดยคำนึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค รวมถึงการแบ่งปันคืนสู่สังคม
3) นักคิดเชิงออกแบบภาคประชาสังคม เป็นผู้มีพลังความคิดสร้างสรรค์อันทรงพลังใน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและขับเคลื่อนการแก้ปัญหาที่สำคัญของสังคมโดยเน้นปัญหาสาธารณะในการขับเคลื่อนสังคมProgram Philosophy
The Bachelor of Arts Program in Social Development (Revised Curriculum 2023) aims to produce graduates who are ethical and knowledgeable change leaders, possessing the skills to be researchers and developers, social enterprise drivers, and civic sector design thinkers. They will be well-prepared and in demand by society and the labor market across government, private, and civil society sectors, both domestically and internationally.
Objectives
General Objectives
The Bachelor of Arts Program in Social Development (Revised Curriculum 2023) has general objectives to produce versatile graduates, meeting the demands of the labor market and employers across various sectors, in line with Thailand's higher education reform policies. They will be desirable social development graduates with the following qualifications:1) Knowledge and Innovation: Possess the knowledge to create new knowledge for innovative and systematic solutions to social problems, and perform effectively in social development roles.
2) Analytical and Creative Problem-Solving: Demonstrate the ability to critically analyze social problems and generate creative solutions by applying knowledge and experience in social development to solve work-related issues systematically.
3) Modern Skills Proficiency: Exhibit strong skills in communication, research analysis, computer and information technology utilization, and contemporary management practices.
4) Ethics and Social Responsibility: Uphold ethical, moral, and academic principles, including a strong sense of social and public responsibility.
5) Service-Minded and Adaptable: Demonstrate a strong service-oriented mindset, excellent interpersonal skills, adaptability to various situations, and the ability to thrive in diverse societies while respecting each other.
Behavioral Objectives
The program aims to produce graduates as social change leaders, including:1) Researchers and Developers: Individuals capable of studying, researching, analyzing, and understanding economic, political, social, and cultural changes, using participatory action research processes to solve social problems.
2) Social Enterprise Drivers: Individuals who drive collaboration with private sector organizations to promote social responsibility, considering both micro and macro-level social impacts, and engaging in social giveback.
3) Civic Sector Design Thinkers: Individuals with strong creative thinking skills to improve the quality of life for citizens and drive solutions to critical social issues, focusing on public problems for social mobilization.
- สายงานที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม ออกแบบเพื่อให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาเป็นผู้มีทักษะความรู้ความสามารถในการทำงานในหลากหลายภาคส่วน ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์การระหว่างประเทศ โดยเน้นการทำงานเพื่อสังคมที่ใช้หลากหลายทักษะ ทางด้านสังคมศาสตร์ อาทิ
1) งานด้านวิชาการ การสอน อาจารย์ ครูผู้ช่วย
2) นักวิจัยและพัฒนา นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักทรัพยากรมนุษย์ นักพัฒนาชุมชน นักพัฒนาสังคม นักวิชาการแรงงาน นักพัฒนาเอกชน
3) ผู้ประกอบการทั่วไป ผู้ประกอบการทางสังคม
4) การผลิตสื่อในรูปแบบต่าง ๆ หรือสารคดี ผู้สื่อข่าว อาชีพอิสระ (Freelance) ตลอดจนอาชีพใหม่ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 เป็นต้นThe Bachelor of Arts Program in Social Development is designed to equip graduates with the skills, knowledge, and abilities to work in a wide range of sectors, including government agencies, private businesses, civil society organizations, and international organizations. The program emphasizes socially impactful work that utilizes diverse social science skills, such as:
1) Academic work, teaching, lecturing, teaching assistance
2) Research and development, policy and planning analysis, human resources, community development, social development, labor studies, non-profit development
3) General entrepreneurs, social entrepreneurs
4) Multimedia production, documentaries, journalism, freelance work, and emerging professions in the Industry 4.0 era.
โครงสร้างหลักสูตร
# | วิชาเอก | สาขาวิชา | รายละเอียด |
---|---|---|---|
1 | ไม่มีวิชาเอก | พัฒนาสังคม | ดูไฟล์เอกสาร |
รายวิชาที่เปิดสอน
ลำดับที่ | รหัสรายวิชา | ชื่อวิชาไทย | ชื่อวิชาอังกฤษ | ปีที่ปรับปรุง |
---|---|---|---|---|
1 | HS431101 | แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาสังคม | CONCEPT AND THEORY OF SOCIAL DEVELOPMENT | 2566 |
2 | HS431301 | การพัฒนาในระยะเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจสังคม | DEVELOPMENT IN SOCIO-ECONOMIC TRANSITION | 2566 |
3 | HS431401 | เศรษฐศาสตร์การเมืองและการพัฒนาสังคม | POLITICAL ECONOMY AND SOCIAL DEVELOPMENT | 2566 |
4 | HS432102 | หลักการพื้นฐานและกระบวนการพัฒนาสังคม | PRINCIPLE AND PROCESS OF SOCIAL DEVELOPMENT | 2566 |
5 | HS432103 | แนวคิดเชิงออกแบบเพื่อการพัฒนาสังคม | DESIGN THINKING CONCEPT FOR SOCIAL DEVELOPMENT | 2566 |
6 | HS432201 | การวิจัยเชิงปริมาณสำหรับงานพัฒนาสังคม | QUANTITATIVE RESEARCH FOR SOCIAL DEVELOPMENT | 2566 |
7 | HS432202 | การวิจัยเชิงคุณภาพสำหรับงานพัฒนาสังคม | QUALITATIVE RESEARCH FOR SOCIAL DEVELOPMENT | 2566 |
8 | HS432303 | นโยบายสาธารณะกับการพัฒนาสังคม | PUBLIC POLICY AND SOCIAL DEVELOPMENT | 2566 |
9 | HS432304 | โลกาภิวัตน์และความยั่งยืน | GLOBALIZATION AND SUSTAINABILITY | 2566 |
10 | HS432305 | ความอยู่ดีมีสุขกับการพัฒนาสังคม | WELLBEING AND SOCIAL DEVELOPMENT | 2566 |
11 | HS432402 | การพัฒนาเปรียบเทียบในจีนและไต้หวัน | COMPARATIVE DEVELOPMENT OF MAINLAND CHINA AND TAIWAN | 2566 |
12 | HS432501 | ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาสังคม | PHILOSOPHY OF SUFFICIENCY ECONOMY AND SOCIAL DEVELOPMENT | 2566 |
13 | HS432761 | สัมมนาประเด็นการพัฒนาสังคม | SEMINAR ON SOCIAL DEVELOPMENT ISSUES | 2566 |
14 | HS433203 | เทคนิควิทยาสำหรับการพัฒนาสังคม | METHODS FOR SOCIAL DEVELOPMENT | 2566 |
15 | HS433306 | สันติศึกษากับการพัฒนาสังคม | PEACE STUDIES AND SOCIAL DEVELOPMENT | 2566 |
16 | HS433307 | เพศภาวะกับการพัฒนาสังคม | GENDER AND SOCIAL DEVELOPMENT | 2566 |
17 | HS433308 | อาชญาวิทยาและงานยุติธรรมสำหรับการพัฒนาสังคม | CRIMINOLOGY AND JUSTICE FOR SOCIAL DEVELOPMENT | 2566 |
18 | HS433309 | แรงงานศึกษากับการพัฒนาสังคม | LABOR STUDIES AND SOCIAL DEVELOPMENT | 2566 |
19 | HS433403 | ประเด็นการพัฒนาของสังคมโลก | WORLD DEVELOPMENT ISSUES | 2566 |
20 | HS433404 | การเมืองเปรียบเทียบกับการพัฒนา | COMPARATIVE POLITICS AND DEVELOPMENT | 2566 |
21 | HS433502 | สวัสดิการสังคมและสวัสดิการชุมชน | SOCIAL WELFARE AND COMMUNITY WELFARE | 2566 |
22 | HS433503 | วิสาหกิจและผู้ประกอบการสร้างสรรค์เพื่อสังคม | ENTERPRISE AND CREATIVE ENTREPRENEUR FOR SOCIETY | 2566 |
23 | HS433504 | แรงงานและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสังคมในยุคใหม่ | LABOR AND INNOVATIONS FOR SOCIAL DEVELOPMENT IN THE NEW ERA | 2566 |
24 | HS433601 | ชุมชนและเครือข่ายทางสังคม | COMMUNITY AND SOCIAL NETWORK | 2566 |
25 | HS433602 | วิจัยและการจัดการความรู้ในชุมชน | RESEARCH AND KNOWLEDGE MANAGEMENT IN COMMUNITY | 2566 |
26 | HS433603 | วิธีคิดเชิงระบบและการวางแผนเพื่อการพัฒนาสังคม | SYSTEM THINKING AND PLANNING SOCIAL DEVELOPMENT | 2566 |
27 | HS434310 | องค์กรภาคประชาสังคมกับการพัฒนาสังคม | CIVIL SOCIETY ORGANIZATION AND SOCIAL DEVELOPMENT | 2566 |
28 | HS434405 | การพัฒนาระหว่างประเทศกับการพัฒนาสังคม | INTERNATIONAL DEVELOPMENT AND SOCIAL DEVELOPMENT | 2566 |
29 | HS434604 | การจัดการสาธารณะเพื่อพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน | PUBLIC MANAGEMENT FOR SUSTAINABLE SOCIAL DEVELOPMENT | 2566 |
30 | HS434785 | สหกิจศึกษาทางพัฒนาสังคม | COOPERATIVE EDUCATION IN SOCIAL DEVELOPMENT |
แผนการศึกษา
ปีที่ | รายละเอียด | ไฟล์ |
---|---|---|
1 | แผนการศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาพัฒนาสังคม | ดูไฟล์เอกสาร |
2 | แผนการศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาพัฒนาสังคม | ดูไฟล์เอกสาร |
3 | แผนการศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาพัฒนาสังคม | ดูไฟล์เอกสาร |
4 | แผนการศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาพัฒนาสังคม | ดูไฟล์เอกสาร |
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
หัวข้อ | รายละเอียด | ไฟล์ |
---|---|---|
PLO 1 | ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบ และมีจิตใจในการให้บริการที่ดี | ดูไฟล์เอกสาร |
PLO 2 | วิเคราะห์ ประเมิน และประยุกต์สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมในมิติต่าง ๆ | ดูไฟล์เอกสาร |
PLO 3 | ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเพื่อการพัฒนาสังคม | ดูไฟล์เอกสาร |
PLO 4 | สร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมเพื่อการพัฒนาสังคม และวิสาหกิจเพื่อสังคม | ดูไฟล์เอกสาร |
PLO 5 | ริเริ่มและสร้างสรรค์เชิงออกแบบการจัดการสาธารณะเพื่อขับเคลื่อนสังคม | ดูไฟล์เอกสาร |