images
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

รายละเอียดหลักสูตร

ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านภาษาและวรรณกรรมไทย บูรณาการงานวิจัยกับสังคมไทยถิ่นอีสาน การคิดวิเคราะห์ เชิงวิพากษ์ด้วยเหตุและผลตามหลักวิชาการ ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ตลอดจนเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้

1. มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีทางภาษาและวรรณกรรมไทย
2. มีทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงวิพากษ์โดยบูรณาการความรู้ทางภาษาและวรรณกรรมไทยกับสังคมไทยถิ่นอีสาน
3. มีความสามารถในการสังเคราะห์ และประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศในการวิจัยทางภาษาและวรรณกรรมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ รวมถึงจิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบทางวิชาการทั้งต่อตนเองและสังคม

Objectives of the program are that graduates:

1. Profoundly understand the concepts, principles, and theories that are related to the Thai language and literature;
2. Have a critical thinking ability to integrate the knowledge of the Thai language and literature with Isan society;
3. Can analyze, synthesize, and effectively apply communication and information technology knowledge for Thai language and literature
research; and
4. Have morality, professional ethics, and responsibility to themselves and society.



สายงานที่เกี่ยวข้อง
1. อาจารย์สอนภาษาไทย
2. นักวิชาการหรือนักวิจัยทางภาษา วรรณกรรม หรือวัฒนธรรมไทย
3. พนักงานองค์กรของรัฐหรือเอกชนที่ใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญทางภาษาไทย เช่น Content Creatorบรรณาธิการกองบรรณาธิการ
4. อาชีพอิสระหรือตำแหน่งงานที่ใช้ความรู้ความสามารถทางภาษาไทย เช่น นักเขียน นักแปล ล่ามนักสื่อสารมวลชน

โครงสร้างหลักสูตร

# วิชาเอก สาขาวิชา รายละเอียด
1 ไม่มีวิชาเอก ภาษาไทย ดูไฟล์เอกสาร

รายวิชาที่เปิดสอน

ลำดับที่ รหัสรายวิชา ชื่อวิชาไทย ชื่อวิชาอังกฤษ ปีที่ปรับปรุง
1 HS647101 ทฤษฎีภาษา LANGUAGE THEORIES 2565
2 HS647102 ทฤษฎีวรรณกรรม LITERATURE THEORIES 2565
3 HS647103 ระเบียบวิธีวิจัยทางภาษาและวรรณกรรมไทย RESEARCH METHODOLOGY IN THAI LANGUAGE AND LITERATURE 2565
4 HS647104 วัฒนธรรมอีสานศึกษา ISAN CULTURAL STUDIES 2565
5 HS647201 นิเวศวิทยาทางภาษา ECOLOGY OF LANGUAGE 2565
6 HS647202 ปรากฏการณ์ทางภาษาและวัฒนธรรม PHENOMENA IN LANGUAGE AND CULTURE
7 HS647203 วาทกรรมวิเคราะห์ในสื่อสมัยใหม่ DISCOURSE ANALYSIS IN NEW MEDIA 2565
8 HS647204 ภาษาตระกูลไทในสังคมอีสาน TAI LANGUAGE FAMILY IN NORTHEASTERN SOCIETY 2565
9 HS647205 การรับรู้ภาษา LANGUAGE ACQUISITION
10 HS647206 วรรณกรรมกับเพศภาวะ LITERATURE AND GENDER 2565
11 HS647207 วรรณกรรมกับอัตลักษณ์ท้องถิ่น LITERATURE AND LOCAL IDENTITIES 2565
12 HS647208 การสร้างสรรค์วรรณกรรมแบบข้ามสื่อ CROSS-MEDIA LITERARY CREATION 2565
13 HS647899 วิทยานิพนธ์ THESIS 2565

แผนการศึกษา

ปีที่ รายละเอียด ไฟล์
1 แผนการศึกษาชั้นปีที่ 1 ดูไฟล์เอกสาร
2 แผนการศึกษาชั้นปีที่ 2 ดูไฟล์เอกสาร

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)

หัวข้อ รายละเอียด ไฟล์
PLO 1 มีทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ การคิดสร้างสรรค์ และการวิจัย (Enhancing Critical Analytical Thinking, Creativity, and Research Skills.) ดูไฟล์เอกสาร
PLO 2 บูรณาการความรู้ทางภาษาและวรรณกรรมไทยกับสังคมในการวิจัยด้านภาษาไทย (Integration of Knowledge of the Thai Language and Literature within the Context of Societal Research in the Thai Language.) ดูไฟล์เอกสาร
PLO 3 มีทักษะการสื่อสารและเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต (Possessing Communication Abilities and Engage in Continuous Self-Learning.) ดูไฟล์เอกสาร
PLO 4 มีทักษะการทำงานร่วมกัน มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น มีวินัย ตรงต่อเวลา และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น (Possessing Effective Collaboration Skills.) ดูไฟล์เอกสาร
PLO 5 มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ (Possessing Ethical Values and Uphold Academic Integrity.) ดูไฟล์เอกสาร