images
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

รายละเอียดหลักสูตร

ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)
มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้อย่างถ่องแท้และลึกซึ้ง มีความสามารถ และความเชี่ยวชาญด้านภาษาไทย มีศักยภาพในการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ในด้านภาษาศาสตร์ภาษาไทยและวรรณกรรมไทย โดยใช้แนวคิดภาษาไทยมาศึกษาความเป็นภาษาถิ่นและวรรณกรรมท้องถิ่น ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ สามารถบูรณาการงานวิจัยและยกระดับอัตลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นสู่สากลทั้งด้านภาษาไทยกับศาสตร์แขนงอื่น ๆ สามารถผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ สร้างบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการและวิชาชีพ สามารถนำความรู้และประยุกต์งานวิจัยไปสู่การพัฒนาวิชาการในองค์กรเพื่อสังคม และบุคลากรทางภาษาไทยไปสู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

1) มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในแนวคิด หลักการ และทฤษฎีทางด้านภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่น วรรณกรรมไทย และวรรณกรรมท้องถิ่น สามารถประยุกต์ความรู้สู่การพัฒนาวิชาการและวิชาชีพได้
2) มีความรู้ความสามารถทางการวิจัยภาษาไทยขั้นสูง ทั้งด้านภาษาศาสตร์ภาษาไทยด้วยแนวคิดทฤษฎีภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ภาษาถิ่น วรรณกรรมท้องถิ่น และวรรณคดีไทย สามารถศึกษาและทำวิจัยด้านภาษาและวรรณกรรมไทยในเชิงเปรียบเทียบทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ตลอดจนสามารถยกอัตลักษณ์ด้านภาษา วรรณกรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่สากล
3) มีความมุ่งมั่นและสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านภาษาและวรรณกรรมไทย
4) มีภาวะผู้นำ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ
5) มีความตระหนักถึงคุณค่า และภาคภูมิใจในภาษา วัฒนธรรม และวรรณกรรมไทย

Objectives of the program are that graduates:

1) Having a profound understanding of the standard and local Thai language and literature principles and theories. Be able to apply knowledge to academic work and work development
2) Having knowledge and competency in advanced Thai language research, both in Thai linguistics with the concept of linguistic theory, dialectal linguistics, local literature, and Thai literature, including being able to study and conduct comparative research on Thai language and literature both nationally and internationally as well as being able to raise the identity of the Thai language, local literature, and culture to the international level
3) Having determination and create a new body of knowledge in the Thai language and Thai literature
4) Having leadership, knowledge, morality, and academic/professional ethics; and
5) Having an awareness of value and pride in the Thai language, culture, and literature.


สายงานที่เกี่ยวข้อง
1) ครู อาจารย์ นักการศึกษา 
2) นักวิชาการในหน่วยงานรัฐ หรือเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3) นักวิจัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
4) นักวิชาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทย

โครงสร้างหลักสูตร

# วิชาเอก สาขาวิชา รายละเอียด
1 ไม่มีวิชาเอก ภาษาไทย ดูไฟล์เอกสาร

รายวิชาที่เปิดสอน

ลำดับที่ รหัสรายวิชา ชื่อวิชาไทย ชื่อวิชาอังกฤษ ปีที่ปรับปรุง
1 HS677101 ทฤษฎีเพื่อการวิจัยภาษาไทย THEORIES FOR THAI LANGUAGE RESEARCH 2565
2 HS677102 วิธีวิทยาการวิจัยทางภาษาไทย RESEARCH METHODOLOGY IN THAI LANGUAGE 2565
3 HS677103 ภาษาและวรรณกรรมอีสานในบริบทสากล I-SAAN LANGUAGE AND LITERATURE IN GLOBAL CONTEXT 2565
4 HS677201 ภาษาไทยถิ่นในบริบทสังคมโลก THAI DIALECT IN GLOBAL CONTEXT 2565
5 HS677202 ภาษาศาสตร์เชิงสังคมวัฒนธรรม SOCIO-CULTURAL LINGUISTICS 2565
6 HS677203 ภูมิศาสตร์ภาษาถิ่น DIALECT GEOGRAPHY
7 HS677204 วรรณกรรมไทยในสื่อร่วมสมัย THAI LITERATURE IN CONTEMPORARY MEDIA 2565
8 HS677205 วรรณกรรมท้องถิ่นกับวัฒนธรรมประชานิยม LOCAL LITERATURES AND POPULAR CULTURE 2565
9 HS677206 วิวิธไวยากรณ์ภาษาไทยถิ่นอีสาน I-SAAN DIALECT GRAMMARS
10 HS677998 ดุษฎีนิพนธ์ DISSERTATION 2565

แผนการศึกษา

ปีที่ รายละเอียด ไฟล์
1 แผนการศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาไทย ดูไฟล์เอกสาร
2 แผนการศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาไทย ดูไฟล์เอกสาร
3 แผนการศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาไทย ดูไฟล์เอกสาร

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)

หัวข้อ รายละเอียด ไฟล์
PLO 1 นักศึกษามีภาวะผู้นำ คุณธรรม จริยธรรม และส่งเสริมคุณค่าของภาษา วัฒนธรรม และวรรณกรรมไทย (Students demonstrate leadership, moral integrity, and ethical behavior while promoting the value of Thai language, culture, and literature) ดูไฟล์เอกสาร
PLO 2 นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ทั้งด้านแนวคิด หลักการ และทฤษฎี ทางด้านภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาไทยถิ่น และสามารถประยุกต์ความรู้สู่การพัฒนาวิชาการและวิชาชีพได้ ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ (Students can examine, combine, and create new knowledge of concepts, principles, and theories in the standard Thai and local Thai languages; and be able to apply this knowledge to academic and professional growth at local, national, and international levels) ดูไฟล์เอกสาร
PLO 3 นักศึกษาสามารถทำวิจัยภาษาไทยขั้นสูง ทั้งด้านภาษาศาสตร์ภาษาไทย ภาษาศาสตร์ภาษาถิ่นโดยมุมมองทางภาษาศาสตร์ วรรณกรรมท้องถิ่น และวรรณคดีไทย ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ตลอดจนการวิจัยภาษาและวรรณกรรมไทยในเชิงเปรียบเทียบ และสามารถบูรณาการงานวิจัยและยกระดับอัตลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นสู่สากลทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นกับศาสตร์แขนงอื่น ๆ (Students can conduct advanced research in Thai language and linguistics, encompassing areas such as dialects, local literature, and Thai literature on both national and international levels. Also, they should carry out comparative studies on Thai language and literature, integrating this research while promoting local identity to an international level, collaboration with other scientific disciplines) ดูไฟล์เอกสาร
PLO 4 นักศึกษาสามารถสื่อสารสารสนเทศได้หลายรูปแบบ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (Students can convey information using various methods and can collaborate effectively with others) ดูไฟล์เอกสาร
PLO 5 นักศึกษาสามารถผลิตและสร้างสรรค์งานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ (Students can conduct and generating high-quality research that gains recognition on both national and international levels.) ดูไฟล์เอกสาร