images
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

รายละเอียดหลักสูตร
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566) ดุษฎีบัณฑิตมีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ สามารถสร้างองค์ความรู้ที่มีมาตรฐานสากล และนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติและสังคมส่วนรวมมีขีดความสามารถในการพัฒนาองค์ความรู้นั้นไปสู่การเสริมสร้างทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์เพื่อความก้าวหน้าและสอดคล้องเป้าหมายขององค์การระดับโลก เช่น เป้าหมายแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ
สหประชาขาติในปัจจุบัน (UN 17 SDGs) และเป็นผู้ที่มีความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรม
ยึดมั่นในอุดมการณ์วิชาชีพ ตลอดจนเป็นแบบอย่างเพื่อเป็นการนำทางปฏิบัติที่ดีของสังคมด้วยหลักธรรมาภิบาล

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566) ผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณสมบัติในการตอบสนองความต้องการของประเทศ ดังวัตถุประสงค์ต่อไปนี้

1) สามารถใช้องค์ความรู้ ที่เป็นนวัตกรรมในกระบวนการบริหารจัดการในยุคดิจิทัลและการนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ เน้นการทำงานวิชาการด้วยหลักธรรมาภิบาล คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ มีความรับผิดชอบและรักษาผลประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก
2) ทักษะความเป็นมนุษย์ (Soft Skills) มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ บูรณาการ รวมถึงการคิดแบบสร้างสรรค์ มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถประสานงานและจัดการความร่วมมือ และสามารถสื่อสารทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม
3) ทักษะด้านความรู้ (Hard Skills) ใช้แนวคิดทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ในยุคดิจิทัลด้วยหลักธรรมาภิบาล และนวัตกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยได้อย่างเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการ การวิจัย และการพัฒนาที่สามารถนำมาประยุกต์ในการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมได้

Objectives of the program are that graduates:

1) Utilize innovative knowledge in management processes in the digital age and apply research findings to management. Emphasis is placed on adhering to principles of good governance, morality, ethics, and a code of conduct, with responsibility and a focus on public interest
2) Human Skills (Soft Skills): Possess analytical, synthesizing, integrative, and creative thinking abilities, alongside lifelong learning. Capable of coordinating and managing cooperation while communicating effectively in academic environments. Maintain moral, ethical, and academic ethical standards and hold responsibility towards society and the public; and
3) Hard Skills: Apply public administration theories within the digital age while adhering to principles of good governance. Innovatively use modern information technology and demonstrate expertise in management and research that can be implemented effectively in practice.


สายงานที่เกี่ยวข้อง
1) ผู้สอนในสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
2) นักวิจัย
3) เจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
4) นักการทูต ผู้ปฎิบ้ติงานองค์การระหว่างประเทศ
5) นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
6) ข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร พนักงานส่วนท้องถิ่น และพนักงานรัฐวิสาหกิจ
7) ผู้บริหารและพนักงานเอกชน

โครงสร้างหลักสูตร

# วิชาเอก สาขาวิชา รายละเอียด
1 ไม่มีวิชาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ ดูไฟล์เอกสาร

รายวิชาที่เปิดสอน

ลำดับที่ รหัสรายวิชา ชื่อวิชาไทย ชื่อวิชาอังกฤษ ปีที่ปรับปรุง
1 HS471901 ขอบเขตและวิธีการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ในยุคดิจิทัล SCOPE AND METHODS IN PUBLIC ADMINISTRATION IN DIGITAL ERA 2566
2 HS471902 ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูงทางรัฐประศาสนศาสตร์ ADVANCED RESEARCH METHODOLOGY IN PUBLIC ADMINISTRATION 2566
3 HS471903 การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะขั้นสูงในบริบทโลก ADVANCED PUBLIC POLICY ANALYSIS IN GLOBAL CONTEXT 2566
4 HS471991 สัมมนาทางนวัตกรรมการจัดการองค์การและทรัพยากรมนุษย์ยุคดิจิทัล SEMINAR ON INNOVATION OF ORGANIZATION MANAGEMENT AND HUMAN RESOURCE IN DIGITAL ERA 2566
5 HS471992 สัมมนาทางการบริหารงานท้องถิ่นในยุคดิจิทัล SEMINAR ON LOCAL ADMINISTRATION IN DIGITAL ERA 2566
6 HS471993 สัมมนาทางการจัดการการเงินการคลังสาธารณะในยุคดิจิทัล SEMINAR ON PUBLIC FINANCIAL AND FISCAL ADMINISTRATION IN DIGITAL ERA 2566
7 HS471994 สัมมนาทางการบริหารและการจัดการภาวะวิกฤติ SEMINAR ON CRISIS ADMINISTRATION AND MANAGEMENT
8 HS471995 สัมมนาทางการจัดการภาครัฐ เอกชนและภาคประชาสังคม SEMINAR ON PUBLIC, PRIVATE AND CIVIL SECTOR MANAGEMENT 2566
9 HS471996 ดุษฎีนิพนธ์ DISSERTATION 2566
10 HS471998 ดุษฎีนิพนธ์ DISSERTATION 2566

แผนการศึกษา

ปีที่ รายละเอียด ไฟล์
1 แผนการศึกษาชั้นปีที่ 1 ดูไฟล์เอกสาร
1 แผนการศึกษาชั้นปีที่ 3 ดูไฟล์เอกสาร
2 แผนการศึกษาชั้นปีที่ 2 ดูไฟล์เอกสาร

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)

หัวข้อ รายละเอียด ไฟล์
PLO1 เข้าใจทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์อย่างลึกซึ้ง สามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อนำเสนอทางออกในภาวะวิกฤติ รวมทั้งสร้างนวัตกรรมบนพื้นฐานของแนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้ (Thoroughly comprehend public administration theory and apply it effectively. Present solutions during crisis situations and develop innovations based on public administration concepts and theories) ดูไฟล์เอกสาร
PLO2 สามารถบูรณาการศาสตร์ที่สัมพันธ์กับรัฐประศาสนศาสตร์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการในยุคดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม (Develop the ability to apply scientific knowledge related to public administration for effective management in the digital age) ดูไฟล์เอกสาร
PLO3 มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิพากษ์ และการวิจัยขั้นสูง ในการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางรัฐประศาสนศาสตร์ (Possess analytical and creative thinking skills, critical thinking abilities, and advanced research expertise in the field of public administration; and) ดูไฟล์เอกสาร
PLO4 มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทาง วิชาการ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม (Possess interpersonal relationship skills, maintain moral and ethical standards, uphold academic integrity, and be responsible towards society and the public.) ดูไฟล์เอกสาร