images
ชื่อหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

รายละเอียดหลักสูตร
ปรัชญาของหลักสูตร
"หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ มีความคิดเชิงวิพากษ์ มีความสามารถในการวิจัย สามารถต่อยอดองค์ความรู้เดิมและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ในด้าน สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ในระดับสูง มีทักษะดิจิทัลที่ใช้ในการทำงานวิจัย สามารถผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับและเผยแพร่ผลงานวิจัยได้ในระดับชาติและระดับนานาชาติ เป็นผู้นำทางวิชาการ มีจรรยาบรรณในการวิจัยและวิชาชีพ และมีคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักวิชาการและวิชาชีพ นำไปสู่การพัฒนาสังคมและประเทศชาติในภาพรวม"
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
1) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิพากษ์และประยุกต์ความรู้หลักการด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องในการประยุกต์ในการทำวิจัยหรือปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพได้
2) มีความสามารถในการวิจัย มีทักษะดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสืบค้นช้อมูลสามารถต่อยอดองค์ความรู้เดิม และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ในด้านสาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์
3) มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และเป็นผู้นำและเป็นผู้ตามทางวิชาการได้อย่าง


สายงานที่เกี่ยวข้อง

โครงสร้างหลักสูตร

# วิชาเอก สาขาวิชา รายละเอียด
1 ไม่มีวิชาเอก ภาษาศาสตร์ประยุกต์ ดูไฟล์เอกสาร

รายวิชาที่เปิดสอน

ลำดับที่ รหัสรายวิชา ชื่อวิชาไทย ชื่อวิชาอังกฤษ ปีที่ปรับปรุง

แผนการศึกษา

ปีที่ รายละเอียด ไฟล์
1 แผนการศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) ดูไฟล์เอกสาร
2 แผนการศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) ดูไฟล์เอกสาร
3 แผนการศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) ดูไฟล์เอกสาร
4 แผนการศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) ดูไฟล์เอกสาร

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)

หัวข้อ รายละเอียด ไฟล์
PLO 1 สามารถทำวิจัยที่ประยุกต์ใช้ความรู้ทางภาษาศาสตร์ประยุกต์เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้
PLO 2 สามารถเผยแพร่บทความวิจัยในฐานข้อมูลทางด้านสาขาภาษาศาสตร์ประยุกต์ระดับชาติและนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับได้
PLO 3 มีทักษะดิจิทัลสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้นข้อมูลในการทำวิจัยและเผยแพร่งานวิจัยได้
PLO 4 แสดงออกถึงการเป็นผู้นำและผู้ตามทางวิชาการและวิชาชีพที่เหมาะสมให้สอดคล้องตามบริบท
PLO 5 สร้างสรรค์ผลงานด้วยความสุจริตและซื่อสัตย์ตามหลักจรรยาบรรณทางวิชาการ
PLO 6 มีความคิดเชิงวิพากษ์อย่างมีวิจารณญาณและแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนทางภาษาศาสตร์ประยุกต์ได้